2.ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ 1.สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
1.1 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดให้
1.2 บุคคลมีสิทธิเลือกและตัดสินใจในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของตนและชุมชนของตน
2. สิทธิในการรับบริการสาธารณะและสวัสดิการจากรัฐ
2.1 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน
2.2 บุคคลผู้ยากไร้ หรือด้อยโอกาสหรือไร้ที่อยู่อาศัยมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
2.3 บุคคลผู้พิการย่อมมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือและได้รับบริการสาธารณะอันเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกจากรัฐ
3. สิทธิในข้อมูลข่าวสาร
3.1 บุคคลมีสิทธิใช้คลื่นความถี่เท่าเทียมกับรัฐ
3.2 บุคคลมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากรัฐอย่างทั่วถึง เปิดเผยและโปร่งใส
4. สิทธิในการนับถือศาสนา
4.1 บุคคลมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
5. สิทธิในทรัพย์สิน
5.1 บุคคลย่อมมีสิทธิในที่ทำกินอันเป็นทรัพย์สินของตน
6. สิทธิในการประกอบอาชีพ
6.1 บุคคลมีสิทธิเท่าเทียมกันในการประกอบอาชีพ
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ - สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน
แบบแบ่งเขต 400 คน
แบบสัดส่วน 80 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
- บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
แบบแบ่งเขต 400 คน
แบบสัดส่วน 80 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
- บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผุ้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
- บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
- บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
- ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร* ติดยาเสพติดให้โทษ ล้มละลายหรือเคยล้มละลาย เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่เกิน 5 ปี เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ พ้นจากการจากการเป็น สมาชิกวุฒิสภายังไม่เกิน 2 ปี
อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หมดวาระเลือกตั้งภายใน 45 วัน
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
- ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร* ติดยาเสพติดให้โทษ ล้มละลายหรือเคยล้มละลาย เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่เกิน 5 ปี เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ พ้นจากการจากการเป็น สมาชิกวุฒิสภายังไม่เกิน 2 ปี
อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หมดวาระเลือกตั้งภายใน 45 วัน
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเนี่องจากเราจะใช้ผลประโยชน์เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญให้ได้มากที่สุด เนื่องจากมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันและรู้เท่าทันรัฐบาลซึ่งมีอำนาจแก้ไข ซึ่งอาจก็ให้เกิดการทุจริตหรือใช้อำนาจในทางที่ผิด ทำให้เราเสียผลประโยชน์รวมไปถึงบุคคลในชาติด้วย ดังนั้นเราควรที่จะศึกษากฎหมายเอาไว้
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ เห็นว่าไม่การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ถ้าการแก้สามารถช่วยพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น ทำให้ประชาชนไม่ถูกเอาเปรียบ
กรณีที่มีประชาชนคัดค้านเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูนในบางเรื่องนั้นเอื้อผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ของประเทศ ประเด็นที่แก้เพื่อเอื้ออำนวยต่อการทุจริต มีช่องโหว่ อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งถ้าแก้ไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ในหลายๆด้าน ซึ่งไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เกิดกลุ่มผู้คัดค้าน
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ ปัญหาส่วนใหญ่คิดว่าอยู่ที่นักการเมือง ที่ขาดคุณธรรมจริยธรรม ทำให้ประเทศชาติขาดความมั่นคง รัฐบาลคิดถึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม เกิดการทุจริต ประชาชนแบ่งฝักแบ่งฝ่าย บุคคลในรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งบางท่านมีภาวะทางอารมณ์ต่ำ ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ การเมืองของประเทศอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่บุคคลภายนอกบางคนซึ่งทำความวุ่นวายให้แก่ประเทศ รวมถึงประชาชนบางกลุ่มบางพวกที่เห็นแก่เงิน และรู้ไม่เท่าทัน ขาดการศึกษา ดังนั้นบุคคลรุ่นใหม่ควรที่จะรู้เท่าทัน โดยการได้รับการศึกษาที่ดี ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจกฎหมาย เพื่อในอนาคตประเทศไทยสามารถอยู่คู่กับอำนาจทั้งสามอำนาจอย่างรู้เท่าทัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น