วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


ข้อสอบปลายภาคให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด     พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ 
ตอบ    กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ  กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นต้นแบบให้กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น ๆ ที่เรียกว่ากฎหมายลูก
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชกำหนด
พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนด; หรือ royal ordinance สำหรับพระราชกำหนด) เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อ ประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ คือ   กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่าง ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้   เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเห็นว่ารัฐธรรมนูญยังขาดความชอบธรรมในรัฐธรรมนูญ นั่นคือรัฐบาลยังสามารถเข้าแทรกแซงรัฐธรรมนูญเปลี่ยนกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มบางพวก แก้กฎหมายเพื่อผลประโยชน์กับนโยบายของพรรค และแก้เพื่อแทรกแซงสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งขาดความชอบธรรมเป็นอย่างยิ่ง จริงๆแล้วการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถแก้ได้ถ้าเห็นสมควร เช่นแก้แล้วลดความขัดแย้งในสังคม และเหตุการณ์ กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ที่เห็นในปจุบันส่วนใหญ่จะนำรัฐธรรมนูญมาแก้ผิดวัตถุประสงค์ ของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
                ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สุดคือ การกำหนดสิทธิและเสรีภาพการอยู่ร่วมของสังคมภายในประเทศการอยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งสมควรจะมีกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบและกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้เกิดความสงบสุข
                หากไม่มีรัฐธรรมนูญคิดว่าภายในสังคมจะขาดระเบียบวินัย คนทำผิดก็อยู่ในสังคมได้ เกิดการกดขี่ข่มเหง ขาดความเท่าเทียมกันในสังคม ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการออกสิทธิ์ออกเสียง ไม่มีการตรวจสอบ ทุจริต คอรัปชัน ยิ่งถ้ามีผู้นำที่ไม่ดีแล้ว จะทำให้ประเทศชาติล่มจม สามารถสั่งการอะไรก็ได้ ยึดตนเองเป็นใหญ่
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ   แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  นักวิชาการมิได้ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112  หากแต่ ต้องการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  112    พิจารณาได้ดังนี้
ประเทศไทยกำหนดห้ามหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และห้ามหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาไว้ในมาตรา 326 ความว่า
 " มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี "
 " มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
ข้อแตกต่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กับบุคคลธรรมดาประการแรกก็คือ มาตรา 112 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่ารัฐเป็นผู้เสียหายและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการกับผู้กระทำความผิด ส่วนมาตรา 326 เป็นความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวซึ่งถ้าไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ดำเนินคดีให้ เหตุที่บัญญัติไว้แตกต่างกันเช่นนี้เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ประมุขของรัฐจะไปฟ้องร้องกล่าวโทษพลเมืองของตนเอง หากยกเลิกมาตรา 112 ก็เท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิประมุขแห่งรัฐไม่ให้สามารถคุ้มครองตนเองจากการถูกหมิ่นประมาทได้

ยิ่งกว่านั้นการ " หมิ่นประมาท " หมายความว่า ใส่ความโดยไม่เป็นความจริงในลักษณะที่ทำให้ผู้ได้ยินได้ฟังเกลียดชังผู้ถูกใส่ความซึ่งเป็นการกระทำอันชั่วร้ายผิดศีลธรรม การยกเลิกมาตรา 112 มีผลทำให้ประมุขของรัฐซึ่งถูกจำกัดสิทธิที่จะคุ้มครองตนเองโดยฐานะของตนในทางพฤตินัยไม่ได้รับความคุ้มครองและเสียสิทธิที่จะปกป้องตนเองในทางนิตินัยไปพร้อมกันด้วย
เมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขแต่อย่างใด
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง   มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ  แนวทางการต่อสู้คดีของทีมกฎหมายไทยกรณีปราสาทเขาพระวิหาร
1.) ศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเรื่องเขตแดน เนื่องจากในปี 2505 ศาลโลกไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ จึงไม่สามารถตัดสินคดีใหม่ได้
2.) ไทยได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2505 โดยมีการล้อมรั้วรอบปราสาทเขาพระวิหารตามมติครม.เป็นแนวปฏิบัติซึ่งกัมพูชาก็มิได้ทักท้วง
3.) การปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาเสร็จสิ้นแล้ว เหลือเพียงการจัดทำหลักเขตแดนซึ่งมี MOU 43 เป็นแนวทางการเจรจาระหว่าง 2 ประเทศ แต่กัมพูชามีการละเมิด MOU 43 บ่อยครั้ง และปัญหาเกิดจากการที่กัมพูชาไปขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว และโจมตีประเทศไทยจนเกิดการปะทะกันเพื่อดึงคดีขึ้นสู่ศาลโลก
4.) ไทยไม่ได้เป็นภาคีศาลโลกแล้วในปัจจุบัน ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจพิพากษานอกเหนือไปจากที่เคยมีคำสั่งไปในปี 2505 เพราะไทยได้ปฏิบัติไปครบถ้วนแล้ว


5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ   เห็นด้วย  เพราะ รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศฉันใด  พรบ.การศึกษาก็ย่อมเป็นกฎหมายสูงสุดของวงการศึกษาฉันนั้น  พรบ.การศึกษา เป็นตัวกำหนดนโยบายทางการศึกษา ที่ถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษาทั้งในและนอกระบบที่มีความหลากหลายและซับซ้อน ในหลายแง่มุม ให้อยู่บนพื้นฐานอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐธรรมนูญนั้นถือเป็นกฎหมายแม่  ส่วนตัว พรบ. และกฎหมายลำดับรองๆ นั้น เปรียบเสมือนกฎหมายลูก ที่จะต้องสอดรับกับตัวกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า  ดังนั้น หากกฎหมายใดที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ก็บังคับใช้ไม่ได้

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ     การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา   ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา     สถานศึกษา
ตอบ  การศึกษา คือ วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
การศึกษาตลอดชีวิต  หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เปฌนหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู  หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา  หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน การจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ  การจักการศึกษาควรจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีความรู้ เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  และที่สำคัญมีการพัฒนาครบถ้วนในทุกๆด้านทั้งด้านร่างกาย จิตใจ คุญธรรม จริยธรรม อยู่ในสังคมซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สามารถอยู่ร่วมกับผู่อื่นอย่างมีความสุข  ซึ่งนอกจากจะต้องมีความรู้ สติปัญญาแล้ว ควรที่จะมีการการพัฒนาจิตใจควบคู่กันไปด้วย เพราะถ้ามีความรู้แต่ขาดคุณธรรมแล้วจะมาสร้างความเดือดร้อนในอนาคต เหมือนผู้นำบางคนในประเทศ

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ มีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ  ผิดตาม พรบ.เพราะว่า เพราะว่าพรบ.ได้กล่าวไว้ว่า  ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
 ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วผู้ที่เข้ามาให้ความรู้เป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาได้ แต่ไม่สามรถสอนได้ประจำ ซึ่งถ้าทำผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 78

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ         1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูพ.ศ. 2547
                 2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
                3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                 4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้ทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม     และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ     การเรียนโดยใช้ทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มาใช้คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะในปจุบันเทคโนโลยีมีความสำคัญมากโดนเฉพาะกับการเรียนการสอน อาจารย์สามารถสั่งงานทาง weblogได้ แทนที่จะสั่งงานในห้องซึ่งอาจจะไม่ชัดเจน อาจารย์ถ่ายทอดความรู้โดยนักศึกษาสามารถเข้ามาดูซ้ำๆได้ถ้าไม่เข้าใจ ซึ่งต่างจากการเรียนในห้อง และเราสามารถถ่ายทอดความรู้ของเราให้บุคคลอื่นรู้ได้ ซึ่งมีประโยชน์แก่สังคม สามารถแสดงความคิด แลกเปลี่ยนความรู้ในสังคมที่กว้างกว่าการเรียนในห้อง
                คิดว่าให้น้ำหนักวิชานี้ควรได้ A เพราะว่านอกจากจะได้ความรู้เรื่องกฎหมายการศึกษาแล้วยังได้ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต และคิดว่าตนเองคาดหวังเกรด B+ ขึ้นไป    
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น